วันที่ลงทะเบียน:1958.02.08
ความคิดเห็น
Juurin'in ตั้งอยู่ในมุมตะวันออกเฉียงใต้ของพื้นที่เดิมของ Gangouji ในเมืองนาราอันเงียบสงบ
กล่าวกันว่าเป็นวัดลูกของจักรพรรดิเก็นโช (715-724) ในปี Chokuganji และ Gangouji และสมบัติของวัดจำนวนมากสูญหายไปเนื่องจากสงครามในช่วงสมัยมุโรมาจิ (ค.ศ. 1336-1573) แต่ตระกูลโทคุงาวะอยู่ภายใต้การอุปถัมภ์ของ วัดและซ่อมแซมห้องโถงต่างๆ
สถาปนิกชาวเยอรมัน บรูโน โตท (1880-1938) ผู้เผยแพร่ความงดงามของความงามแบบญี่ปุ่นไปทั่วโลกกล่าวว่า ``เมื่อคุณมาที่นารา สิ่งแรกที่คุณควรทำคือเยี่ยมชม Juurin'in เล็กๆ แต่เก่าแก่มาก เรียบง่ายและสง่างาม อาคารและชื่นชมความงามอย่างเงียบ ๆ '' เที่ยวชมสถานที่ท่องเที่ยวในพื้นที่และเพลิดเพลินไปกับถนนชนบทในบริเวณใกล้เคียงอย่างจุใจ ''
เชิญมาเยี่ยมชมวัดโบราณของนารา Juurin'in ซึ่งได้รับการนำเสนอในเพลงของ Mori Ogai, Mizuhara Aki Sakurako, Matsuse Aoi และคนอื่นๆ
Juurin'in เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ
open
ความเห็น
วิหารหลักวัดจูรินอิน สร้างขึ้นในสมัยคามาคุระตอนต้น (ค.ศ. 1185 - 1333) เพื่อสักการะบูชาตู้พระพุทธรูปที่สร้างจากหิน (เซกิบุตสึกัน) ซึ่งอยู่ด้านใน
วิหารหลักวัดจูรินอิน สร้างขึ้นในสมัยคามาคุระตอนต้น (ค.ศ. 1185 - 1333) เพื่อสักการะบูชาตู้พระพุทธรูปที่สร้างจากหิน (เซกิบุตสึกัน) ซึ่งอยู่ด้านใน
อาคารเป็นอาคารทรงต่ำ ด้านหน้ากว้าง ด้านหลังมีผนังเป็นโครงไม้ขัดแตะ (เรียกว่า "ชิโตมิโดะ") ที่เปิดปิดได้โดยแบ่งเป็นด้านบนและล่าง การออกแบบโดยรวมชวนให้นึกถึงที่พักอาศัยในยุคกลาง และมีลักษณะพิเศษซึ่งแตกต่างจากสถาปัตยกรรมทางพุทธศาสนาทั่วไป เช่น ฝ้าชายคาขึ้นแผ่นไม้โดยไม่ใช้จันทัน
ด้านบนสุดของเสา 2 ต้นด้านหน้าอาคารมี "คาเอรุมาตะ" ที่ดูทรงพลังและสง่างามอันเป็นลักษณะเฉพาะของสถาปัตยกรรมสมัยคามาคุระ ทำหน้าที่กระจายน้ำหนักและรองรับตัวอาคาร เนื่องจากส่วนล่างกว้างออกเหมือนขาของกบ จึงเรียกว่า "คาเอรุมาตะ" โดย "คาเอรุ" หมายถึง กบ และ "มาตะ" หมายถึง ขาหนีบ
นอกจากนี้ ยังมีเทคนิคทางสถาปัตยกรรมที่ควรค่าแก่การชมอื่นๆ อาทิ โครงไม้ใต้ชายคา "แบบโนคิชิตะ" ที่รองรับชายคาแบบลึก และศิลปะการแกะสลักแบบ "คุริคาตะ" ที่เป็นเส้นโค้งมนบริเวณด้านบนของเสา วิหารแห่งนี้ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นสมบัติประจำชาติ
จำนวน : 1 หลัง
สร้างขึ้นในสมัย : คามาคุระตอนต้น (ศตวรรษที่ 13)
โครงสร้างและรูปทรง : อาคารชั้นเดียว ยาวประมาณ 9 เมตร (9.8 หลา) และกว้างประมาณ 7.3 เมตร (8 หลา) หลังคาทรงปั้นหยา แบบฮงกาวาระบุคิ (วิธีมุงหลังคาที่ใช้กระเบื้องลอนนูนและกระเบื้องแผ่นเว้ามุงสลับกัน)
วันขึ้นทะเบียนเป็นทรัพย์สินทางวัฒนธรรมที่สำคัญ : 17 เมษายน ค.ศ. 1902 (ปีเมจิที่ 35)
วันขึ้นทะเบียนเป็นสมบัติประจำชาติ : 8 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1958 (ปีโชวะที่ 33)
ตู้บูชาพระกษิติครรภโพธิสัตว์ที่ทำจากหิน (จิโซเซกิบุตสึกัง) สร้างขึ้นในสมัยคามาคุระตอนต้น (ค.ศ. 1185 – ค.ศ. 1333) เป็นสิ่งสักการะบูชาหลักในวัดจูรินอิน เป็นพระพุทธรูปหินที่หาได้ยากในประเทศญี่ปุ่น คำว่า "กัง" หมายถึง แท่นบูชาสำหรับเก็บพระพุทธรูป ตู้บูชาพระพุทธรูปหินนี้แกะสลักจากหินแกรนิต แสดงถึงโลกของพระกษิติครรภโพธิสัตว์โดยมีพระกษิติครรภโพธิสัตว์อยู่ตรงกลาง
รูปปั้นพระกษิติครรภโพธิสัตว์ที่อยู่ตรงกลาง เป็นรูปปั้นพระกษิติครรภโพธิสัตว์แบบโบราณที่ไม่ได้ถือ "ขักขระ" หรือ ไม้เท้าของพระ ส่วนด้านซ้ายและขวามีรูปปั้นแกะสลักของพระศากยมุนีพุทธะและพระศรีอริยเมตไตรยโพธิสัตว์ หลังการเสด็จปรินิพพานของพระศากยมุนีพุทธะ ไม่มีพระพุทธเจ้าเป็นเวลานานถึง 5.67 พันล้านปี จนกระทั่งพระศรีอริยเมตไตรยโพธิสัตว์ปรากฏขึ้น ในช่วงเวลานี้ พระกษิติครรภโพธิสัตว์ได้รับมอบหมายจากพระศากยมุนีพุทธะให้เป็นผู้แสดงธรรมโปรดสรรพสัตว์ (สิ่งมีชีวิตทั้งหลายที่อยู่ในโลกแห่งความสับสน)
พระพุทธรูปและเจดีย์อื่นๆ ที่อยู่รายล้อมพระกษิติครรภโพธิสัตว์ แสดงถึงโลกของพระกษิติครรภโพธิสัตว์ ที่ผู้คนปรารถนาจะได้เกิดใหม่ในดินแดนในอุดมคติ (ดินแดนสุขาวดีอันสะอาดบริสุทธิ์) ที่ปราศจากความทุกข์หลังการตาย ด้านหน้าของแท่นบูชาพระพุทธรูปหินมีศิลานำทางสำหรับวางอัฐิหรือโลงศพของผู้เสียชีวิต นอกจากนี้ ยังมีชื่อกลุ่มดาวต่างๆ ถูกจารึกไว้ด้วยภาษาสันสกฤตที่ด้านบนทั้งซ้ายและขวา เช่น กลุ่มดาวหมีใหญ่ กลุ่มดาวจักรราศี ซึ่งทำให้ได้รู้ว่ามีการเคารพบูชาเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ทางโลกที่จะมีชีวิตยืนยาวโดยไม่ต้องเผชิญกับภัยพิบัติทางธรรมชาติ ทั้งสองด้านของศิลานำทางมีเสาหิน (เคียวโด) แบบดั้งเดิมของพุทธศาสนา 6 นิกายแห่งเมืองนาระ จารึกพระสูตรและพระนามของพระพุทธเจ้าไว้ เนื่องจากแท่นบูชาพระพุทธรูปหินนี้สร้างขึ้นตามคำสอนของพุทธศาสนา 6 นิกายแห่งเมืองนาระในสมัยนั้น และได้รับอิทธิพลจากความเชื่อพื้นบ้าน จึงมีโครงสร้างที่ไม่ธรรมดา อีกสิ่งหนึ่งที่น่าสนใจคือการแกะสลักด้วยเทคนิคที่ให้ความรู้สึกผ่อนคลาย
จากร่องรอยของสีที่หลงเหลืออยู่ ทำให้คิดว่า แท่นบูชานี้ครั้งหนึ่งเคยถูกแต่งแต้มด้วยสีเพื่อให้จินตนาการถึงดินแดนในอุดมคติ (ดินแดนสุขาวดีอันสะอาดบริสุทธิ์) ที่ซึ่งปราศจากความทุกข์หลังความตาย
จำนวน : 1 หลัง
สร้างขึ้นในสมัย : คามาคุระตอนต้น (ศตวรรษที่ 13)
โครงสร้างและรูปทรง : ตู้พระพุทธรูปหิน
วันขึ้นทะเบียนเป็นทรัพย์สินทางวัฒนธรรมที่สำคัญ : 24 เมษายน ค.ศ. 1925 (ปีไทโชที่ 14)
เป็นประตูด้านหน้าที่ตั้งตระหง่านอยู่หน้าวิหารหลัก ประกอบด้วยซุ้มประตู 4 เสาที่มีโครงสร้างอันเรียบง่ายไม่มีการตกแต่งใดๆ ด้วยเสาค้ำที่เอนเข้าด้านในเล็กน้อยและหลังคาที่มีชายคาไม้แต่ไม่มีจันทันเช่นเดียวกับวิหารหลัก จึงเป็นโครงสร้างแบบเรียบง่ายที่ไม่ค่อยพบเห็นเท่าใดนัก
"คาเอรุมาตะ" (เนื่องจากส่วนล่างกว้างออกเหมือนขาของกบ จึงเรียกว่า "คาเอรุมาตะ" เป็นขื่อที่เป็นส่วนประกอบโครงสร้างที่ติดตั้งบนคานและบริเวณอื่นๆ เพื่อกระจายน้ำหนักและรองรับอาคาร) ของประตูทิศใต้ มีลักษณะเป็นแผ่นหนาๆ ให้บรรยากาศที่มั่นคงและเรียบง่าย แตกต่างจาก "ฮงคาเอรุมาตะ" ที่ตกแต่งอย่างสวยงาม มองทะลุเห็นอีกด้านหนึ่งได้
เนื่องจากมีความคล้ายคลึงกับวิหารหลักอยู่หลายประการ จึงเชื่อกันว่าถูกสร้างขึ้นในช่วงเวลาเดียวกัน
จำนวน : 1 หลัง
สร้างขึ้นในสมัย : คามาคุระตอนต้น (ศตวรรษที่ 13)
โครงสร้างและรูปทรง : ซุ้มประตู 4 เสา โครงสร้างหน้าจั่ว "คิริซึมะซึคุริ" (หลังคาที่มีรูปร่างเหมือนหนังสือที่เปิดคว่ำหน้าลง) หลังคาแบบฮงกาวาระบุคิ (วิธีมุงหลังคาที่ใช้กระเบื้องลอนนูนและกระเบื้องแผ่นเว้ามุงสลับกัน)
วันขึ้นทะเบียนเป็นทรัพย์สินทางวัฒนธรรมที่สำคัญ : 13 สิงหาคม ค.ศ. 1917 (ปีไทโชที่ 6)
กล่าวกันว่าสมเด็จพระชิโช ไดชิ เป็นผู้สร้างขึ้นในช่วงระหว่างสมัยเฮอันตอนปลาย (ค.ศ. 794 - ค.ศ. 1185) จนถึงสมัยคามาคุระตอนต้น (ค.ศ. 1185 - ค.ศ. 1333) มีรูปปั้นพระโพธิสัตว์อจลนาถวิทยราช (ฟุโด เมียวโอ) และสาวกสองคนคือ คงคาระโดชิ และ เซตากะโดชิ ประดิษฐานอยู่ในวิหารโกมะ แม้ปกติจะไม่เปิดให้บุคคลทั่วไปเข้าชม แต่สามารถเข้าสักการะได้ในพิธีสวดมนต์ "โกมะ" ซึ่งจัดขึ้นบริเวณด้านหน้ารูปปั้นพระโพธิสัตว์อจลนาถวิทยราช ในวันที่ 28 ของทุกเดือน (ยกเว้นเสิงหาคม และธันวาคม และวันที่วัดปิดทำการ)
รูปปั้นพระโพธิสัตว์อจลนาถวิทยราชมีพระเกศาเป็นลอน ถักเป็นเปียห้อยพาดลงมาที่พระอังสาด้านซ้าย พระเนตรซ้ายเรียวยาว มองเห็นพระทาฐะ (เขี้ยว) บนด้านซ้ายและพระทาฐะล่างด้านขวา ทรงกัดริมพระโอษฐ์ด้วยสีหน้าโกรธขึ้ง รัศมีที่อยู่ด้านหลังหมายถึงนกที่พ่นไฟออกจากปาก พระหัตถ์ขวาถือดาบ พระหัตถ์ซ้ายถือบ่วง ซึ่งว่ากันว่าใช้ช่วยสรรพสัตว์ทั้งหลาย (สิ่งมีชีวิตทั้งหลายที่อยู่ในโลกแห่งความสับสน) ยืนอยู่บนแท่นหิน โดยมีสาวก 2 คนขนาบซ้ายขวา เมื่อหันหน้าเข้าหารูปปั้น ด้านขวามี คงคาระโดชิ พนมมือแหงนหน้ามองพระโพธิสัตว์อจลนาถวิทยราช ในขณะที่ด้านซ้ายมี เซตากะโดชิ หันหลังกลับไปแหงนมองพระโพธิสัตว์อจลนาถวิทยราชในท่าก้มโค้งเล็กน้อย แม้จะดูน่ากลัวแต่ก็มีความสง่างาม ความอิ่มเอิบและเครื่องทรงอันหรูหราแสดงให้เห็นถึงเอกลักษณ์ของพระโพธิสัตว์อจลนาถวิทยราชที่สร้างขึ้นในสมัยเฮอันตอนปลาย
ตั้งแต่สมัยโบราณ ผู้คนมากมายมาสักการะด้วยความเชื่อว่า ความปรารถนาจะเป็นจริงหากขอพรจากใจจริงเพียงข้อเดียว
จำนวน : 3 องค์
ข้อมูลทรัพย์สินทางวัฒนธรรม
【เวลา】
10.00-16.30 น. *เข้าชมช่วงเช้า (ประมาณ 8.30-9.20 น.) ฟรี
【วันหยุดประจำ】
ปิดไม่ให้นักท่องเที่ยวเข้าชมตั้งแต่วันที่ 28 ธันวาคมถึง 5 มกราคม, 27 มกราคมถึง 28 มกราคม และ 31 กรกฎาคมถึง 31 สิงหาคม ปิดทุกวันจันทร์ (หรือวันอังคารถัดไป หากวันจันทร์เป็นวันหยุดนักขัตฤกษ์)
【ราคา】
ผู้ใหญ่ (นักเรียนมัธยมปลายขึ้นไป): 500 เยน นักเรียนมัธยมต้น: 300 เยน Elementary school students: 200 เยน
กลับไปที่รายการทรัพย์สินทางวัฒนธรรมของ เมืองนารา จังหวัดนาระ